Visit our site to read daily news in khmer, you are updating with khmer and world news, and more. Kindly support as we try hard to collect the news for you and also help share if you think it is 





- ส่วนใหญ่เตาหุงต้มภายในร้านอาหาร (Food Booth)                                              
  จะมีใช้เตา ~ 2 - 3 หัวเตา / 1 ร้านค้า                                              
*    ปริมาณเชื้อเพลิงก๊าซ LPG ที่ต้องการต่อ 1 หัวเตา  ~   1.5 kg/hr.                                           
    (หรือคิดเป็นค่าความร้อน = 72,000 Btu./hr.)                                           
  เพราะฉนั้น ร้านอาหาร 1 ร้านค้า จะต้องการเชื้อเพลิงในการปรุงอาหาร                                              
  = 1.5 kg./hr.  X  3  หัวเตา   =     4.5 kg/hr. / 1 ร้านค้า                                              
                                              
 - ในโครงการนี้จะมีร้านอาหารที่ใช้ก๊าซ ~ 27 ร้านค้า                                              
    แสดงว่าปริมาณเชื้อเพลิงที่ร้านอาหารต้องการทั้งหมด 27 ร้านค้า                            = 4.5 kg/hr. x 27 ร้านค้า                      
                         = 122 kg/hr  (Maximum Load)                      
                                              
 - ในความเป็นจริงการใช้เชื้อเพลิงในการปรุงอาหารอาจจะใช้งานไม่พร้อมกันทุกๆ ร้านค้า                      
    สมมุติว่า  ถ้าใช้เชื้อเพลิงรวมทั้งโครงการเฉลี่ยประมาณ 70%                          = 122 kg/hr x 0.7 = 85 kg/hr.

ข้อมูลทางเทคนิคที่ควรทราบ                      
     -   ถังก๊าซหุงต้ม ขนาดบรรจุ 48 กิโลกรัม  จะมีอัตราการระเหยกลายเป็นไอสูงสุด                   
 ~ 3 - 4 kg./hr. / 1 ถัง และต่ำสุด 1.5 kg/hr. / 1 ถัง                      

1.)    การเลือกปริมาณของถังก๊าซที่ใช้                  
    สิ่งที่ทราบ         - ปริมาณการใช้ก๊าซสูงสุดภายในโครงการ = 122 kg/hr.              
         - ปริมาณการใช้ก๊าซเฉลี่ยภายในโครงการ = 85 kg/hr.              
     * ถ้าภายใน 1 วัน โครงการใช้ก๊าซ ~ 12 ชั่วโมง                  
         - ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้สูงสุดต่อวัน                 = 122 kg/hr x 12 hr = 1,464 kg/วัน
         - ปริมาณเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวัน (70%)                  = 85 kg/hr x 12 hr = 1,020 kg./วัน
เนื่องจากถังก๊าซ 1 ถัง บรรจุเนื้อก๊าซหนัก  48 kg.    โครงการนี้จะใช้ถังก๊าซจำนวน                      
         - สูงสุด ต่อวัน             = 1,464 kg/วัน  ÷  48 kg/ 1 ถัง   31 ถัง/วัน  
         - เฉลี่ยต่อวัน             = 1,020 kg/วัน  ÷  48 kg/1 ถัง  = 22 ถัง/วัน  
                              
หมายเหตุ : - ถ้าปริมาณการใช้ต่อวันน้อยจำนวนถังก๊าซที่ใช้ต่อวันก็จะลดลงตามไปด้วย                              


2.)    ทำไมต้องมีเครื่องต้มระเหยก๊าซเข้ามาช่วย                          
     - เนื่องจากเรารู้แล้วว่า  ปริมาณการใช้ก๊าซสูงสุดของโครงการ คือ 122 kg./hr. ถ้าเราใช้ระบบ                          
จ่าย ก๊าซที่ไม่มีเครื่องต้มก๊าซ   ตามกฎหมายเราจะเก็บและใช้ก๊าซจากถังหุงต้มได้ปริมาณมากสุด คือ 20 ถัง                              
    * เพราะฉนั้นอัตราการระเหยกลายเป็นไอ ที่ระบบจะจ่ายได้สูงสุด                           
       คือ 20 ถัง  x  1.5 kg./hr./ถัง   =   30 kg./hr.                          
จะเห็นว่าปริมาณก๊าซที่ระบบจะจ่ายไปปลายทางน้อยกว่าความต้องการปลายทาง (ดีมานมากกว่าซัพพลาย)                              
จะทำให้เกิดปัญหาต่อการใช้งานระบบ  คือ  ก๊าซที่จ่ายไปที่ปลายทางจะมีความดันไม่คงที่  เปลวไฟที่เตา                              
จะ ไม่สม่ำเสมอ  และทำให้ต้องรีบเปลี่ยนถังก๊าซ  เพื่อนำถังใหม่เข้ามาใช้ และต้องรีบคืนถังก๊าซกับร้านก๊าซ                              
    ซึ่งปริมาณก๊าซยังคงมีเหลือค้างอยู่ภายในถัง ทำให้สูญเสียก๊าซไปโดยเปล่าประโยชน์                           
ก๊าซที่เหลือค้างภายในถัง   จากข้อมูลที่เคยทราบจากทางลูกค้า จะเหลือก๊าซค้างภายในถัง                              
ตั้งแต่ 3 - 10 kg. / 1 ถัง                              

    และนี่คือสาเหตุ      ที่ต้องนำเครื่องต้มก๊าซเข้ามาช่วย   เนื่องจากเครื่องต้มก๊าซ จะนำน้ำก๊าซ
จากภายในถังก๊าซออกมาใช้งานโดยตรง     ซึ่งน้ำก๊าซที่เข้ามาภายในเครื่องต้มก๊าซ   จะถูกแลกเปลี่ยน  
ความร้อนกับน้ำร้อนภายในเครื่องต้มน้ำก๊าซ    เมื่อได้รับความร้อนที่อุณหภูมิของน้ำร้อน  ~ 55๐ C  
จะเปลี่ยนสถานะเป็นไอก๊าซ   และจะถูกจ่ายออกมาใช้งาน    โดยขนาดของเครื่องต้มก๊าซ  
จะมีขนาดการจ่ายไอก๊าซตั้งแต่ 100,150,200 และ 300 kg/hr.   แต่เนื่องจากปริมาณการใช้ก๊าซ  
สูงสุดอยู่ที่ 122 kg/hr.    เราจึงเลือกใช้เครื่องต้มก๊าซ ขนาด 150 kg/hr.     สำหรับโครงการนี้  

หมายเหตุ :     - ระบบจ่ายก๊าซที่มีเครื่องต้มก๊าซ ในทางปฏิบัติเมื่อเราใช้งานแล้วจะพบว่าก๊าซ  
จะมีเหลือค้างอยู่ภายในถัง ~  1/2 - 1 kg./ถัง  การที่จะใช้ก๊าซให้หมดถังในทางปฏิบัติ ระบบ  
ไม่สามารถจะทำได้  เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์ Float Valve ภายในเครื่องต้มก๊าซ